วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

เวียงกุมกาม



เวียงกุมกาม
นครต้นแบบแห่งนครเชียงใหม่ และอาณาจักรล้านนา เวียงกุมกามสร้างขึ้นโดยพญาเม็งราย อายุนานกว่า 700 ปี เวียงกุมกามถูกทิ้งไว้รกร้าง ภายใต้ซากปรักหักพังในบริเวณชุมชนและหมู่บ้านห่างจากถนนมหิดลราว 2 กิโลเมตรหรือ ประมาณ 4-5 กิโลเมตรจากสนามบินนานาชาติเชียงใหม่ ตามตำนานเล่าขานของล้านนา พญาเม็งรายทรงสร้างเวียงกุมกามเพื่อเป็นศูนย์กลางของล้านนาราวพุทธศตวรรษที่ 18 เวียงกุมกามมีความเจริญ รุ่งเรืองทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ก่อนที่พญาเม็งรายจะทรงสร้างนครเชียงใหม่ เวียงกุมกามยังคงมีความสำคัญ และเป็น เมืองหน้าด่านต่อมา อีกหลายร้อยปี จนกระทั่งยุคเสื่อมของล้านนา พม่าเข้ายึดครอง เวียงกุมกามถูกน้ำท่วมใหญ่จนถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้างในเวลาต่อมา และเงียบหายไปจากความทรงจำ จากหลักฐานการขุดค้นโดยกรมศิลปกร ในอดีตเวียงกุมกามเป็นศูนย์กลางการค้าขายของชาวเมือง และพ่อค้าจากต่างเมือง มีความ เจริญทางเศรษฐกิจ โดยพบว่าในศิลาจารึกได้ระบุว่า มีเรือมาค้าขายเป็นจำนวนมาก และมีเรือล่ม 2-3 วันเป็นประจำ จนพญาเม็งราย เห็นสมควรให้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง เพื่อให้การไปมา และค้าขายทำได้อย่างสะดวกความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปะได้ รับอิทธพลจากศิลปะมอญและพม่า ดังจะเห็นได้จากร่องรอยและรูปแบบของเจดีย์ ลายปูนปั้น และพระพุทธรูปมีรูปแบบผสมผสานระหว่างล้านนาและพม่า ในปัจจุบัน เวียงกุมกามได้แปรเปลี่ยนสภาพสู่โบราณสถานที่ทรงคุณค่า จากการขุดค้น พบโบราณสถาน มากกว่า 20 แห่ง และยังมีโบราณสถานอีกหลายแห่งที่อยู่ระหว่างทำการขุดค้นและบูรณะเพิ่มเติม วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือเจดีย์กู่คำ นับเป็นโบราณสถานที่ยังทรงความงดงาม แม้จะตั้งตระหง่านมายาวนานกว่า 700 ปี และเป็นโบราณสถาน แห่งแรกที่ควรค่าแก่การแวะชมและศักการะเป็นแห่งแรก จากนั้นท่านสามารถเข้าชมโบราณต่าง ๆ โดยรอบอีกกว่า 20 แห่ง ซึ่งสามารถขับรถ เข้าชมได้โดยรอบ แต่แนะนำให้แวะชมโดยการปั่นจักรยานซึ่งจะให้อรรถรสในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และเป็นการร่วมรักษ์สิ่งแวดล้อม บริเวณเวียงกุมกาม วัดช้างค้ำ และวัดกานโถม นับเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดตามหลักฐานประวัติศาสตร์ วัดช้างค้ำและวัดกานโถมตั้งอยู่ตอนกลางของเวียงกุมกาม วัดกานโถมสร้างโดยช่างกาน โถมตามประสงค์ของ พญาเม็งรายเพื่อศักการะพระมหากัสสปะเถระ วัดช้างค้ำยังเป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางทางจิตใจของชุมชนโดยรอบของเวียงกุมกาม นอกจากวัดเจดีย์เหลี่ยมและวัดช้างค้ำแล้ว โบราณสถานอื่น ๆ โดยรอบประกอบด้วย วัดพญาเม็งราย วัดพระเจ้าองค์ดำ วัดธาตุขาว วัดอีก้าง วัดธาตุปู่เปี้ย กู่ป้าต้อม กู่ริดไม้ม กู่มะเกลือ วัดกู่ไม้ซ้ง กู่ต้นโพธิ์ วัดหัวหนอง กู่อ้ายหลาน และโบราณสถานแห่งอื่น ๆ ที่อยู่ระหว่างการขุดค้น และบูรณะ
ขอบคุณข้อมูลจากwww.deeday23.com/travel.php?group_id=1

วัดอุโมงค์



วัดอุโมงค์
เหตุการณ์ล่วงผ่านไปอดีต เมื่อปี พ.ศ. 1839 พระยามังรายทรงสร้างอาณาจักรล้านนาร่วมกับพระสหาย คือ พระเจ้ารามคำแหงมหาราช กษัตริย์ปกครองสุโขทัย และพระเจ้างำเมือง กษัตริย์ปกครองพะเยา มาสร้างเมืองเวียงเหล็ก (บริเวณวัดเชียงมั่นในปัจจุบัน) และตั้งชื่อเมืองว่า ?นพบุรี ศรีนครพิงค์? ท่านมีความใฝ่ในศาสนาพุทธ จึงทรงทำนุบำรุง ส่งเสริมศาสนาให้รุ่งเรืองในล้านนา ในขณะนั้น ทางฝ่ายพระเจ้ารามคำแหงมหาราชได้ส่งคนนิมนต์พระสงฆ์จากลังกามาอาศัยอยู่ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อที่พระสงฆ์ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุโขทัย เมื่อพระยามังรายทราบข่าวดังกล่าว จึงส่งคนไปนิมนต์พระลังกาจากพระเจ้ารามคำแหง 5 รูป โดยมีพระกัสสปะเถระเป็นหัวหน้าคณะสงฆ์นี้ โดยจำพรรษาที่วัดการโถม ต่อมาพระยามังรายสร้างวัดเวฬุกัฏฐาราม (ปัจจุบัน คือ วัดอุโมงค์) เมื่อสร้างเสร็จจึงอาราธนาพระมหากัสสปะเถระจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ ต่อมาเมื่อพระเจ้ามังรายสวรรคต ศาสนาพุทธขาดการทำนุบำรุง เพราะมัวแต่ทำศึกสงครามกันเองในเชื้อพระวงศ์ในการแย่งชิงราชสมบัติ จนถึงสมัยพระเจ้าผายู ศาสนาพุทธได้รับการฟื้นฟูจนถึงสมัยพระเจ้ากือนาธรรมาธิราช (ประมาณ พ.ศ. 1910) ท่านมีความเลื่อมใสในพระมหาเถระจันทร์ พระเจ้ากือนาจึงสั่งให้คนบูรณะวัดเวฬุกัฏฐาราม เพื่ออาราธนาพระมหาเถระจันทร์จำพรรษาทีวัดแห่งนี้ และตั้งชื่อวัดนี้ว่า ?วัดอุโมงค์เถรจันทร์? ตามชื่อของพระมหาเถระจันทร์ มีการซ่อมแซมเจดีย์โดยการพอกปูน สร้างอุโมงค์ไว้ทางทิศเหนือจากเจดีย์ ในอุโมงค์มีทางเดิน 4 ช่องซึ่งเชื่อมต่อกันได้ ราชวงศ์มังรายล่มสลาย เมื่อปี พ.ศ. 2106 เปลี่ยนเป็นพม่าปกครองล้านนา ทำให้วัดอุโมงค์ขาดการทำนุบำรุง ปล่อยให้ร้าง ปรักหักพังเรื่อยๆ ต่อมา เจ้าชื่น ชิโนรส ได้จัดการแผ้วถางบูรณะวัดนี้ และสร้างกุฏิหลังใหม่เพิ่ม จากนั้นจึงนินต์พระภิกษุปัญญานันทะจากสวนโมกข์ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี มาจำพรรษา และท่านได้เผยแพร่ศาสนาสืบไป ภาพจิตรกรรมภายในอุโมงค์ จิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ในส่วนที่เหลือหลักฐานให้ชมในปัจจุบันอยู่บริเวณเพดานโค้งภายในอุโมงค์ ตัวอุโมงค์ตั้งอยู่บริเวณต่อเนื่องกับเจดีย์ทางทิศเหนือ โดยหันทางเข้าหลักไปยังทิศตะวันออกจำนวน 3 อุโมงค์ในด้านหน้า ซึ่งอุโมงค์กลาง (อุโมงค์ที่ 4) มีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งสามารถเห็นได้ เพียง 3 อุโมงค์เท่านั้น คือ อุโมงค์ที่ 1, 2, และ 3 นอกเหนือจากนี้ไม่สามารถเห็นได้ อีกทั้งภาพหลักฐานจิตรกรรมฝาผนังในอุโมงค์มีสภาพลบเลือนไปมาก จำเป็นต้องใช้เทคนิคคัดลอกจิตรกรรมด้วยมือและคอมพิวเตอร์ควบคู่กัน โดยการคัดลอกลายเส้น และการคัดลอกเป็นภาพสี จึงทำให้ยังสามารถเห็นภาพจิตรกรรมฝาผนังอันเก่าแก่ของศิลปะล้านนาซึ่งมีอายุกว่า 500 ปีได้ชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม เห็นภาพจิตรกรรมภายในอุโมงค์ได้อย่างไร? จิตรกรรมผาผนังภายในอุโมงค์ของวัดอุโมงค์ตามสภาพปัจจุบันนั้น อยู่ในสภาพที่ชำรุดลบเลือนมาก จนหลายคนเข้าใจว่าคงไม่มีภาพจิตรกรรมหลงเหลือแล้วแต่จากการสำรวจของโครงการย้อนรอยอดีตจิตรกรรมวัดอุโมงค์ กลับพบหลักฐานของจิตรกรรมฝาผนังมากกว่าที่คาดคิด เป็นเหตุให้กรมศิลปากรช่วยเหลือโดยจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน เพื่อมาทำการสำรวจ และอนุรักษ์จิตรกรรมแห่งนี้เมื่อปลายปี พ.ศ. 2542-กลางปี พ.ศ. 2543นอกจากนี้คุณภัทรุตม์ สายะเสวี ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการอนุรักษ์จิตรกรรมวัดอุโมงค์ของกรมศิลปากรในขณะนั้นได้เข้าร่วมทำงานอนุรักษ์จิตรกรรมอีกด้วย โดยการให้คำแนะนำและดูแลการปฏิบัติงานของทีมงานโครงการย้อนรอยอดีตจิตรกรรมวัดอุโมงค์ เป็นอย่างดีส่วนการอนุรักษ์งานจิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์นั้นได้นำกระบวนการทางเคมีและศิลปะ ซึ่งมีขั้นตอนตั้งแตทำการสำรวจ, ทำความสะอาดภาพจิตรกรรม, เสริมความแข็งแรงของผนังปูนฉาบ, ชั้นสีของงานจิตรกรรมให้มั่นคงแข็งแรงพร้อมทั้งบันทึกหลักฐานตลอดงานการอนุรักษ์ทั้งภาพถ่าย แผนผัง และภาพลายเส้น ระหว่างขั้นตอนดังกล่าวทีมงานได้ค้นพบภาพจิตรกรรมฝาผนังเพิ่มเติมด้วยความบังเอิญ คือ เหตุที่ทำให้อุโมงค์ชำรุดเนื่องจากมีรอยร้าวที่อุโมงค์ เมื่อฝนตกทำให้น้ำไหลซึมเข้ารอยร้าว จึงเกิดการสะสมของหินปูนที่เคลือบลายจิตรกรรมจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ทีมงานจึงเอาคราบหินปูนออกโดยใช้น้ำยาเคมีที่ทำให้คราบหินปูนอ่อนตัวลง จากนั้นใช่มีดฝานหินปูนออกทีละนิดจนหมด จึงปรากฏภาพจิตรกรรมที่สวยงาม
ขอบคุณข้อมูลจากwww.deeday23.com/travel.php?group_id=1

วัดพระธาตุดอยสุเทพ


วัดดอยสุเทพ หรือ วัดดอย เป็นวัดที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนดอยสุเทพ ตั้งอยู่ที่ ๑๒๔ บ้านดอยสุเทพ หมู่ ๙ ตำบลสุเทพอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย เหตุที่ได้ชื่อว่า วัดพระธาตุดอยสุเทพ สันนิษฐานว่ามีฤาษีตนหนึ่งชื่อวาสุเทพหรือสุเทวะฤษี มาบำเพ็ญตะบะอยู่บนเขาลูกนี้ ผู้คนทั้งหลายจึงเรียกชื่อภูเขานี้ตามชื่อของฤาษี อาคารเสนาสนะ โบราณวัตถุและปูชนียวัตถุของวัดประกอบด้วย อุโบสถทรงล้านนา ภายในมีจิตรกรรมฝาพนังภาพประวัติพระธาตุดอยสุเทพ พระวิหาร ๒ หลัง ด้านทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธด้านทิศตะวันออกประดิษฐานพระพฤหัสถ์ ศาลาการเปรียญมีกุฎิ 30 หลัง ศาลาที่พักประชาชน หอฉัน สำนักชี ห้องสมุด หอพิพิธภัณฑ์ พระประธานในอุโบสถ พระพุทธรูปแบบพระสิงห์หนึ่งขัดสมาธิเพชร อนุสาวรีย์ช้างมงคล (ช้างพระที่นั่งของพระเจ้ากือนาที่บรรทุกโกศพระบรมธาตุเสี่ยงทายขึ้นมาบนดอยสุเทพ) อนุสาวรีย์พระสุเทวฤษี บันไดนาคซึ่งตัวนาคยาวถึง ๖๐ วา ตลอดจนปูชนียวัตถุที่สำคัญมากของวัดพระธาตุดอยสุเทพได้แก่ พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์พระเจดีย์ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาแห่งหนึ่ง มีชื่อว่า ดอยสุเทพ แต่เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของฤาษี มีนามว่า สุเทวะ เป็นภาษาบาลี มีความหมายว่า เทพเจ้าที่ดี ซึ่งตรงกับความหมายของคำว่า สุเทพ นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงได้ ชื่อว่า ดอยสุเทพ ซึ่งมาจากชื่อของฤๅษี คือสุเทวะฤาษี ตามประวัติได้แจ้งว่า เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 19 พระเจ้ากือนา ได้ทรงสร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารไว้บนยอด เขาดอยสุเทพ โดยได้นำเอาพระบรมธาตุ ของพระพุทธเจ้า ที่พระมหาสวามี นำมาจากเมืองปางจา จังหวัดสุโขทัย บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์พระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร นอกจากจะเป็นวัดที่มีความสำคัญมากแล้ว ยังเป็นพระอารามหลวง 1 ใน 4 ของจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย (พระอารามหลวงหมายถึง วัดที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเจาอยู่หัวฯ) ชาวเชียงใหม่เคารพนับถือพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารมาก เสมือนหนึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาแต่โบราณกาลในสมัยก่อน การขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพนั้น เป็นเรื่องที่ยากลำบากเหลือเกิน เพราะไม่มีถนนสะดวกสบายเหมือนปัจจุบัน ทางเดินก็แคบๆ และ ไม่ราบเรียบ ต้องผ่านป่าเขาลำเนาไพร และปีนเขาต้องใช้เวลายาวนานถึง 5ชั่วโมงกว่า จนมีคำกล่าวขานกันทั่วไปในสมัยนั้นว่า ถ้าไม่มีพลังบุญและศรัทธาเลื่อมใสจริงๆ ก็จะไม่มีโอกาสได้กราบไหว้พระธาตุดอยสุเทพ ในปี พ.ศ.2477 (ค.ศ.1934) ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย มาจากวัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน เป็นผู้เริ่มดำเนินการสร้างถนนขึ้นสู่พระธาตุดอยสุเทพ โดยมีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สมัยนั้น เป็นผู้เริ่มขุดดินด้วยจอบเป็นปฐมฤกษ์ ตรงที่หน้าสวนสัตว์เชียงใหม่ปัจจุบัน ใกล้ๆ กับบริเวณน้ำตกห้วยแก้ว โดยเริ่มสร้างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2477บันใดนาค เป็นสัญลักษณ์สำคัญแห่งหนึ่งของวัดพระธาตุดอยสุเทพ มีความงดงามทางด้านศิลปะที่ทรงคุณค่า และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ นักท่องเที่ยวผู้มานมัสการพระบรมธาตุ มักจะต้องถ่ายภาพเป็นที่ระลึกที่ด้านของบันใดนาค ซึ่งมีทัศนียภาพงดงามและมีเสน่ห์เมื่อมองขึ้นไปตามขั้นใด นักท่องเที่ยวที่มาเยือนครั้งแรก มักจะเดิน ขึ้นหรือเดินลงบันใดนาคเสมอ แต่ส่วนใหญ่มักจะเดินลง ส่วนตอนขึ้นนั้นมักจะขึ้นทางลิฟท์หรือรถรางไฟฟ้า รถรางไฟฟัาได้นำมาใช้บริการประชาชนผู้สูงอายุมานานกว่า 10 ปี ตอนแรกๆ ก็ใช้เพียงขนของสัมภาระขึ้น-ลงพระธาตุเท่านั้น ต่อมาภายหลังได้ทำการปรับปรุงระบบความปลอดภัยให้ดีขึ้น จึงให้้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มีอายุการใช้งานรถรางไฟฟ้านานมากแล้ว ทางวัดจึงได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาครั้งใหญ่เพื่อจะนำมาเสริมสร้างบริการที่ดี และปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวด้วยความมั่นใจยิ่ง เรียบเรียงจาก ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๓๓, จังหวัดเชียงใหม่ ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๒๙, วัดสำคัญของนครเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๓๕
ขอบคุณข้อมูลจาก www.deeday23.com/travel.php?group_id=1

วัดป่าตึง



วัดป่าตึง
ตั้งอยู่ในเขต ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง เดิมเป็นวัดร้างอยู่คู่กับวัดเชียงแสน ก่อนที่จะสร้างวัดนี้ขึ้นมา ได้พบพระบรมสารีริกธาตุ และของมีค่ามากมายหลายอย่าง อาทิ วัตถุโบราณ พระพุทธรูป เครื่องถ้วยชามสังคโลก บริเวณวัดมีโบราณวัตถุอยู่ทั่วไป และมีเตาเผาเครื่องถ้วยชามสังคโลกอยู่ด้วย แต่หมดสภาพเพราะดินยุบไปหมด นอกจากบริเวณวัดแล้ว ตามป่าเขารอบๆ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 10,000 ไร่ ก็จะมีเตาเผาสังคโลกอยู่ทั่วไป ชาวบ้านมักพบอยู่บ่อยๆ

วัดเชียงมั่น



วัดเชียงมั่น
ตั้งอยู่ถนนราชภาคินัย ระหว่างเส้นทางไปวัดเชียงมั่น จะผ่านวัดดวงดี ซึ่งเป็นหนึ่งในจำนวนวัดที่มีชื่อเป็นมงคลนาม อาทิ วัดดับภัย วัดดวงดี วัดลอยเคราะห์ วัดชัยมงคล วัดหมื่นล้าน วัดหมื่นเงินกอง เป็นต้น พระผู้ใหญ่บางรูปว่าการให้ความสำคัญกับวัดมงคลนามนั้นมีมานานแล้ว แต่เรื่องราวที่ชาวบ้านมุ่งมาขอพรหรือผู้ทำกิจกรรมต่างๆ แตกต่างกันระหว่างยุคก่อนกับยุคนี้ สมัยก่อนมักเป็นการทำบุญรับขวัญคนเจ็บไข้ได้ป่วย ขึ้นเรือนใหม่ แต่ปัจจุบันกลับเป็นเรื่องการเก็งกำไรค้าที่ดิน ซึ่งมักมาหาพระที่วัดดวงดี หรือวัดหมื่นล้าน หรือวัดเงินกอง ถ้าออกรถคันใหญ่ก็มักไปที่วัดดับภัย เป็นต้นวัดเชียงมั่นมีความสำคัญคู่เมืองเชียงใหม่มาแสนนาน นับเป็นวัดหลวงวัดแรกที่พญามังราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตรงบริเวณที่เป็นประทับของพระองค์ ดังปรากฏในศิลาจารึกที่หน้าพระอุโบสถวัดเชียงมั่น ที่จารึกเมื่อปี พ.ศ. 2124 กล่าวถึงประวัติการสร้างเวียงเชียงใหม่และวัดเชียงมั่นว่าในปี พ.ศ. 1839 เมื่อพญามังรายทางสร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว ได้โปรดเกล้าฯให้ก่อเจดีย์ตรงที่หอนอน บ้านเชียงมั่น ซึ่งพญามังรายใช้เป็นที่ประทับชั่วคราวเมื่อคราวสร้างเมืองเชียงใหม่ เจดีย์ดังกล่าวนั้นก็คือ เจดีย์ช้างล้อม ซึ่งมีทั้งหมด 16 ตัว ว่ากันว่าช้างที่อยู่รายรอบฐานเจดีย์นั้นเป็นเสมือนสัญลักษณ์แห่งการค้ำจุนพุทธศาสนาไว้ ส่วนสำคัญที่น่าสนใจภายในวัดนี้นอกจากเจดีย์แล้ว ก็คือวิหาร 2 หลังซึ่งตั้งอยู่คู่กัน วิหารหลังที่อยู่ประตูทางเข้าวัดนั้นหน้าบันหรือหน้าแหนบเป็นตัวอย่างหน้าแหนบลักษณะหน้าจั่วขนาดใหญ่ ที่พื้นผิวตกแต่งด้วยลายก้านขด ส่วนวิหารอีกหลังที่ตั้งอยู่ข้างกัน ภายในเป็นที่ประดิษฐาน พระเสตังคมณี หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระแก้วขาว เป็นพระพุทธรูปหินปางมารวิชัย ศิลปะสมัยทวารวดี ขนาดสูง 34 เซนติเมตร พระพุทธรูปองค์นี้พระนางจามเทวีวงศ์ทรงนำมาจากกรุงละโว้เมื่อคราวมาครอบหริภุญไชย เมื่อพญามังรายยึดครองเมืองหริภุญไชยได้แล้วก็สร้างเมืองเชียงใหม่ จึงอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดเชียงมั่น พระพุทธรูปองค์นี้จึงถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองเมื่อมีงานพิธีกรรมสำคัญมักจะอัญเชิญเสด็จออกมาร่วมพิธีกรรมด้วย พระเจ้าอินทวิชยานนท์และแม่เจ้าทิพเกสรโปรดให้สร้างฐานบัลลังก์พระพุทธรูปด้วยไม้จันทร์หุ้มทองคำแผ่นปัจจุบันอยู่ในสภาพที่ชำรุดผุกร่อน ในอดีตพระเสตังคมณีจะได้รับการอัญเชิญออกมาสรงน้ำทุกปีในงานตรุษสงกรานต์ ที่มาระงับไปในภายหลังก็เพราะฐานบัลลังก์ชำรุดในวิหารหลังเดียวกันนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปสำคัญอีกองค์หนึ่งคือ พระพุทธรูปหินปางปราบช้างนาฬาคิรี ฝีมือช่างสกุลปาละ (พุทธศตวรรษที่ 13-17) พระพุทธรูปองค์นี้อยู่คู่กับพระเสตังคมณีมานาน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร เชื่อกันว่า พญามังรายอัญเชิญมาจาก หริภุญไชยในคราวเดียวกับพระเสตังคมณี
ขอบคุณข้อมูลจากwww.deeday23.com/travel.php?group_id=1

วัดเจ็ดยอด



วัดเจ็ดยอด
ตั้งอยู่บนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์สายเชียงใหม่-ลำปาง ห่างจากตัวเมือง 4 กิโลเมตร เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะคล้ายกับมหาวิหารโพธิที่พุทธคยาในประเทศอินเดีย
ขอบคุณข้อมูลจาก www.deeday23.com/travel.php?group_id=1

วัดกู่เต้า


วัดกู่เต้า
เดิมชื่อ วัดเวฬุวนาราม เป็นวัดที่มีพระเจดีย์ลักษณะ แปลกไปกว่าพระเจดีย์อื่น ๆ ในประเทศไทย ไม่มีประวัติแน่นชัดว่า สร้างขึ้นในสมัยใด แต่เป็นที่บรรจุอัฐิของพระเจ้าสารวดี ราชโอรสของพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งมาครองเมืองเชียงใหม่ในระหว่างปี พ.ศ. 2122-2150ลักษณะของเจดีย์ คล้ายกับเอาผลแตงโมมาซ้อนกันหลาย ๆ ลูก ชาวเมืองจึงเรียกว่า "เจดีย์กู่เต้า" แต่ศิลปการก่อสร้างเป็น ศิลปแบบพม่า
ขอบคุณข้อมูลจากwww.deeday23.com/travel.php?group_id=1

เมืองโบราณเวียงท่ากาน



เมืองโบราณเวียงท่ากาน
การเดินทางจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ใช้เส้นท่างสายเชียงใหม่-ฮอด เป็นระยะทางประมาณ ๓๔ กิโลเมตร จนถึงทางแยกเข้าบ้านท่ากานบริ ิเวณปากท่างบ้านทุ้งเสี้ยว เป็นระยะทางเข้าไปประมาณ ๒ กิโลเมตร โดยผ่านพื้นที่บ้านต้นกอกสภา เมืองเก่าเวียงท่ากานมีลักษณะเป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวประมาณ ๗๐๐เมตร กว้างประมาณ ๔๐๐เมตร ปรากฏแนวคูเมือง ๑ชั้น กว้างประมาณ ๗-๘ เมตร และมีกำแพงดินหรือคันดินล้อมรอบ ๒ ชั้นปัจจุบันเหลือแนวคูน้ำ คันดินให้เห็น ๓ ด้านยกเวณด้านทิศใต้ ตัวเมืองโบราณมีสภาพเป็นเนินสูงพื้นโดยราบเป็นที่ราบลุ่มห่างจากลำน้ำ ปิงประมาณ๓กิโลเมตทางทิศตะวันออกมีลำน้ำแม่ขานไหลผ่านห่งจากตัวเมือง เวียงท่ากานประมาณ ๒ กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีลำเหมือง(ลำห้วย) สาย เล็กๆ ชักน้ำจากน้ำแม่ขานมายังคูเมืองทางทิศใต้และยังมีลำเหมืองขนาดเล็ก ชักน้ำเข้ามาใช้ภายในเมืองทางทิศตะวันออก ซึ่งสันนิษฐานว่าคงเป็นระบบ ชลประทาน ที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยโบราณ สภาพภายใต้ในตัวเมืองเดิมเป็นป่าทึบต่อมามีการโค่นต้นไม้ใหญ่หักล้าง พื้นถ่างโพรงเพื่อทำเป็นที่อยู่อาศัยพื้นที่บริเวณชายเนินที่เป็นที่นาทั้งหมด ปัจจุบับบ้านเรือยราษฎรส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในตัวเมืองชาวบ้านท่ากานส่วนใหญ ่เป็นพวกชาวยองที่อพยพเข้ามาอยู่ตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวีละปกครองเมือง เชียงใหม่คนส่วนใหญ่พูดภาษายอง คำว่า "ท่ากาน" ชาวบ้านเล่าว่ามาจากคำว่า "ต๊ะก๋า"ในตำนานเล่าว่า เมื่อก่อน นี้มีกาเผือกตัวใหญ่จะบินลงที่นี้ชาวบ้านกลัวว่าเมืองบินลงจะทำ ให้เกิดความเดือดร้อนในหมู่บ้านจึงพากันไล่กาหรือต๊ะก๋าไม่ให้มาลงก็เลย เรียกต่อกันมาว่าบ้านต๊ะก๋า ต่อมาเมือประมาณพ.ศ.๒๔๕๐เจ้าอาวาสวัด ท่ากานได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบ้านท่ากาน เนื่องจากคำว่าบ้านต๊ะก๋าไม่เป็น ภาษาเขียน จากหลักฐานทางด้านเอกสารและตำนานหลายฉบับ เช่นตำนานมูลศาสนา พงศาวดารโยนกและตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวโดยร่วมได้ว่า เมืองท่ากาน เป็นเทลมืองที่มีประวัติเกี่ยวกับนิยายปรัมปราทางพุทธศาสนากล่าวถึงพระพุทธ เจ้า ว่าเคยเสด็จมาที่เมืองนี้ เวียงท่ากาน ปรากฏชื่อใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ว่า "เวียงพันนาทะการ" คงจะเป็นเมืองที่มีความสำคัญเมืองหนึ่ง เนื่องจากพญามังราย (พ.ศ. ๑๘๐๔-๑๘๕๔)โปรดให้นำต้นโพธิ์ที่นำมาจากลังกาทวีปหนึ่งต้นในจำนวนสี่ต้น มาปลูกที่เมืองเวียงพันนาทะการเวียงท่ากานเป็นเมืองที่มีเจ้าเมืองปกครองภาย ใต้การปกครองของเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารเพราะเป็น ถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ชื่อของเวียงท่ากานปรากฏในเอกสารโบราณเกี่ยวกับเมืองเชียง ใหม่ในสมัยพระเจ้าติโลกนาถ(พ.ศ.๑๙๘๔-๒๐๓๐)กล่าวว่าพระองคได้เสด็จยกทัพ ไปตีเมืองเงี้ยวและได้นำเฉลยเงี้ยวไปอยู่ที่เวียงท่าการเมืองเงี้ยวไปอยู่ที่เวียงพันนา ทะการัคงจะหมายความว่าในช่วงนี้เวียงพันนาทะการมีฐานเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม ่เพราะคำว่าพันนาในภาษาไทยเหนือหมายถึงตำบล ่ หลังจากพม่าเข้าตีเมืองเชียงใหม่ได้ในสมัยพระเจ้าหงสาวดี บุเรงนอง ในปี(พ.ศ.๒๑๐๑)เวียงท่ากานที่ตกอยู่ในอำนาจของพม่าเช่นกันต่อมาทาง เชียงใหม่ร้างไปประมาณ ๒๐ ปีเศษ คือในช่วงระหว่าง(พ.ศ.๒๓๑๘-๒๓๓๙) เวียงท่ากานก็คงจะร้างไปด้วย จนถึงช่วงปี พ.ศ.๒๓๓๙พระเจ้ากาวิละทรงตี เมืองเชียงใหม่คืนจากพม่าได้จึงกวาดต้อนพวกไทยยองเข้ามาอยู่จนตราบ เท่าทุกวันนี้ หลักฐานทางโบราณคดีประเภทโบราณวัตถุเช่นพระพิมพ์ดินเผาพระพุทธรูปดิน เผาพระพุทธรูปสำริดและพระโพธิสัตร์เป็นต้นแสดงให้เห็นถึงศิลปะแบบหริภุญไชย ซึ่งยังคงเหลือให้ศึกษาอยุ่นอกเหนือจากนี้ยังมีหลักฐานประเภทโบราณสถาน และโบราณวัตถุในสมัยล้านนาให้ศึกษาอย่างต่อเนื่องและนอกตัวเมืองอีกด้วย เป็นกลุ่มโบราณสถานมีขนาดใหญ่มากทีสุด มีเนื้อที่ประมาณ๑๔ไร่ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญยังคงเหลืออยู่คือเจดีย์แปดเหลี่ยมแบบหริภุญไชย และเจดีย์ทรงกลมสมัยล้านนานอกจากนี้ยังปรากฏเนินโบราณสถานอีกหลาย เนินซึ่งเป็นองค์เจดีย์วิหารอีกหลายเนินภายในกลุ่มโบราณสถานแห่งนี้ยังเคยมีคน ขุดพบพระบุทองคำ เงินสำริด พระพิมพ์ดินเผา ที่สำคัญคือไหรายโบราณสมัย ราชวงหยวน(พ.ศ.๑๘๒๓-๑๙๑๑)ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัดท่ากานจะเป็นโถบรรจุ อัฐิของพระเถรผู้ใหญ่เจดีย์ทั้งสององค์นี้ได้ทำการขุดแต่งและบูรณะเมือประมาณ ต้นปี พ.ศ.๒๕๓๑ โดยหน่วยศิลปกรที่ ๔ได้พบโบราณวัตถสามาถกำหนดอายุ ของเจดีย์ทั้ง ๒ องคได้ว่ามีอายุอยู่ในช่วงหริกุญไชยลงมาถึงล้านนากลุ่มวัด กลางเมืองนี้ประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถาน ๓ กลุ่ม วัดกลางเมืองกลุ่มที่๑ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือมีแนวกำแพงล้อมรอบประกอบด้วยเจดีย์ทรงระฆังฐานแปด เหลี่ยมอยู่ด้านหลังวิหารในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตกห่างกันประมาณ๔เมตร ภายใน แนวกำแพงเข้าด้านหน้ามีซุ้มประตูโขงเจดีย์เป็นแบบหริภุญไชยและ ล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๒ วัดกลางเมืองกลุ่มที่๒เป็นกลุ่มที่มีเนื้อที่น้อยที่สุดโดยใชเ้แนวกำแพงร่วมกลับ กลุ่มที่๓ประกอบด้วยฐานวิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออกผนังด้านหลังวิหารเชื่อม ติดกลับล้านประทักษิณของเจดีย์ประธานเป็นระฆังฐานสี่เหลี่ยมกลุ่มอาคารด้าน ทิศตะวันออกหลังเจดีย์ประกอบด้วยฐานของศาลาโถง๒หลัง และบ่อน้ำ วัดกลางเมืองกลุ่มที่๓ประกอบด้วยโบราณสถาน๗แห่งล้อมรอบด้วยกำแพง โดยกำแพงด้านทิศตะวันออกเชื่อมกับกำแพงกลุ่มที่๒และใช้กำแพงด้านทิศเหนือ ร่วมกัน มีซุ้มประตูโขงเป็นประตูทางเข้าอยู่ด้านหน้า กลุ่มที่๒อยู่ทางทิศเหนือของเมืองเรียกว่ากลุ่มวัดพระอุโบสถเนื่องจากในบริเวณ นี้มีพระอุโบสถหลังเก่าซึ่งร้างอยู่ต่อมาชาวบ้านได้รื้อใหม่ทับทินเดิมอุโบสถหลัง เก่าแล้วสร้างขึ้นมานอกจากนี้ยังปรากฏเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนาและฐานเนิน วิหารและยังคงมีเนินโบราณสถานกระจายอยู่ในบริเวณนี้อีก๒-๓แห่งอีกทั้งยัง มีเนินซุ้มประตูโขง และแนวกกำแพงให้เห็นเป็นช่วง กลุ่มวัดพระอุโบสถประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงระฆังตั้งอยู่ด้านหลังวิหารหัน หน้าไปทางทิศตะวันออกมีอุโบสถหลังใหม่อยู่ขนาดทางด้านขวาด้านซ้ายเป็น ฐานวิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งอยู่หลังเจดีย์เหลี่ยมขนาดเล็กบริเวณรอบวัดล้อม รอบด้วยแนวกำแพงแก้วและมีซุ้มประตูโขงตั้งอยู่ด้านหน้ากลุ่มวัดอุโบสถนี้จัด เป็นศิลปะแบบล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ กลุ่มที่๓อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเรียกว่ากลุ่มวัดต้นโพธิ์เนื่องจาก เชื่อกันว่ามีต้นโพธิ์พญามังรายโปรดให้นำมาปลูกในบริเวณนี้มีเนินโบราณสถาน กระจายอยุ่ด้วยกัน๔เนินภายในวัดประกอบด้วยฐานวิหารและเจดีย์ประธานมีซุ่ม ประตูโขงและแนวกำแพงแก้วล้อมรอบสถาปัตยกรรมของกลุ่มวัดต้นโพธิ์จัดเป็น ศิลปะแบบล้านนาอายุราวศตวรรษที่๑๙-๒๒ กลุ่มที่๔อยู่ทางตอนกลางของเมืองค่อนไปทางทิศตะวันออกเรียกวัดหัวข่วง ปรากกฏเนินโบราณสถานที่เป็นเจดีย์และวิหารโดยวิหารเหลือแต่ฐานสี่เหลี่ยม ผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศใต้ฐานเจดีย์ประธานเป็นลักษณ์แบบทรงเรือธาตุมีกำแพง แก้วล้อมรอบกลุ่มวัดหัวข่วงนี้จัดเป็นศิลปะแบบล้านนาอายุราวพุทธศตวรรษ ที่ ๒๑-๒๒ กลุ่มที่๕อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองเรียกว่ากลุ่มวัดรพเจ้าก่ำปรากฏเนินโบราณ สถานขนาดใหญ๒เนินชาวบ้านได้พบพระพุทธรูปสำริดองค์หนึ่งถูกไฟเผาจนเป็นสีดำ จึงเรียกว่าวัดพระเจ้าก่ำภายในบริเวณโบราณสถานกลุ่มนี้ประกอบด้วยฐานวิหาร และเจดีย์ประธานลักษณะเจดีย์แบ่งเป็น๒ส่วนคือฐานชั้นล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกับ เรือนธาตุด้านบนฐานเจดีย์นี้ได้เชื่อมต่อกันฐานของวิหารโบราณสถานกลุ่มนเป็นศิลปะ ่ แบบล้านนาอายุราวพุทะศตวรรษที่ ๑๙-๒๒กลุ่มที่๖ตั้งอยู่นอกเมืองท่างทิศตะวันตกเฉียงเหนือนอกเมืองอยู่ในเขตบ้านต้นกอก เรียกว่าวัดต้นกอกมีเจดีย์ทรงกลมที่ช่างฐานมีการขยายฐานส่วนนอกไปอีกเพื่อสร้าง เจดีย์แบบพม่าสวมครอบทับเมื่อประมาณ๕๐กว่าปีที่ผ่านมาแต่ยังสร้างไม่เสร็จนอก จากนี้ยังมีเนินโบราณสถานอีก๓แห่งโบราณสถานกลุ่มนี้ประกอบด้วยเจดีย์ประธาน ทรงระฆังมีฐานใหญ่ซ้อนกัน๓ชั้นตั้งอยู่หลังวิหารในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก นอกจากนี้ยังปรากฏวิหารอยู่ทางทิศเหนือของเจดีย์อีกหนึ่งฐานและใกล้จากนี้ไป ทางทิศตะวันตกมีฐานวิหารอีกฐานหนึ่งตั้งอยู่นอกจากนี้กลุ่มโบราณสถานสถาน ที่กล่าวมาแล้วนยังปรากฏเนินโบราณสถานนอกเมืองทางทิศตะวันออกี้เฉียงเหนือ ใกล้กับเขตบ้านต้นกอกอีกหลายเนินในปีงบประมาณ๒๕๓๑หน่วยศิลปกรที่๔เชียงใหม่ได้ทำการขุดแต่งและบูรณะเจดีย์โบราณ สถานกลางเมือง๒องค์คือเจดีย์แปดเหลี่ยมแบบหริภิญไชย๑องค์และเจดีย์ทรงกลมแบบ องค์เรือยธาตุอีก ๑องค์ได้พบหลักฐานประเภทโบราณวัตถุจำนวนมากทั้งเศษ ภาชนะดินเผาแบบหริภิญไชย พระพุทธรูปสำริดเป็นต้นอนึ่งหลักฐานทางด้าน โบราณวัตถุและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของเจดีย์ซึ่งมีการบูรณะซ่อมแซมมางแล้ว หลายครั้สามารถกำหนดอายุโบราณสถานดังกล่าวได้ว่าน่าจะมีอายุตั้งแต่สมัย หริภัญไชยตอยปลายลงมาถึงสมัยล้านนาตอนต้นประมาณพุธศตวรรษท๑๘ถึง พุทธสตวรรษที่ ๒๑-๒๒
ขอบคุณข้อมูลจากwww.deeday23.com/travel.php?group_id=1

พระธาตุจอมทอง



พระธาตุจอมทอง
ตั้งอยู่บนเนินสูงที่เรียกว่า ?ดอยจอมทอง? อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ จอมทองอยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางใต้ประมาณ 58 กิโลเมตร พระบรมธาตุที่ประดิษฐานอยู่ที่นี่เป็น ?พระทิกขิณโมฬีธาตุ? (คือกระดูกกระหม่อมด้านขวา) แม้จะมีประวัติมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลดังที่กล่าวแล้ว แต่สถาปัตยกรรมหลักของวัดนี้ก็มีอายุประมาณไม่เกิน 500 ปี คือสร้างในสมัย พระเมืองแก้ว หรือ พญาแก้วภูตาธิปติราชาเจ้า (พ.ศ. 2038 ? 2068) กษัตริย์ล้านนาแห่งราชวงศ์มังราย ซึ่งยุคนี้อยู่ในช่วงยุคทองของล้านนา แต่พระเจดีย์วัดพระธาตุศรีจอมทองนั้นยังอายุต่ำลงมาอีก คือเป็นเจดีย์แบบหลังสุดของสถาปัตยกรรมล้านนาน เป็นรุ่นหลังสมัยของพระเมืองแก้วลงมาแล้ว พระธาตุจอมทองนี้มีความพิเศษกว่าพระธาตุทุกองค์ คือ พระบรมธาตุเพียงแห่งเดียวที่สามารถสักการะและสรงน้ำได้โดยตรงและเห็นองค์พระบรมสารีริกธาตุได้ เพราะแม้จะมีเจดีย์อยู่ในวัดแต่พระบรมธาตุกลับประดิษฐานอยู่ภายในกู่ปราสาทปิดทอง ตั้งอยู่ในวิหารจัตุรมุข ซึ่งสร้างโดยพระเมืองแก้ว เมื่อถึง วันวิสาขบูชา และ วันมาฆะบูชา ของทุกปี จะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุจอมทอง โดยอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกมาให้คนทั่วไปได้สักการะและสรงน้ำ

ขอบคุณข้อมูลจากwww.deeday23.com/travel.php?group_id=1

ปราสาทตาเมือนธม


ปราสาทตาเมือนธม อยู่ถัดจากปราสาทตาเมือนโต๊ดไปทางทิศใต้ประมาณ 200 เมตร เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน บนแนวเทือกเขาบรรทัด ประกอบด้วยปรางค์สามองค์ มีปรางค์ประธานขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลาง ปรางค์อีกสององค์อยู่ถัดไปด้านหลังทางด้านขวาและซ้าย ปรางค์ทั้งสามองค์สร้างด้วยหินทรายหันหน้าไปทางทิศใต้ ที่ปรางค์ประธานมีลวดลายจำหลักที่งดงาม แม้ว่าจะถูกลักลอบทำลายและทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ทางด้านตะวันออกและตะวันตก มีวิหารสองหลังสร้างด้วยศิลาแลง อาคารทั้งหมดมีระเบียงคดซึ่งสร้างด้วยหินทรายล้อมรอบ มีโคปุระทั้งสี่ด้าน โคปุระด้านใต้มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีบันไดทางขึ้นจากเชิงเขาด้านนั้น นอกระเบียงคดทางด้านทิศเหนือมีสระน้ำและที่ลานริมระเบียงคดทางมุขด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้มีศิลาจารึกภาษาขอม กล่าวถึงชื่อ พระกัลปกฤษณะ จึงสันนิษฐานได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์ จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมและลวดลายจำหลักต่าง ๆ ทำให้ทราบได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งเก่าแก่กว่าโบราณสถานอีกสองแห่งในกลุ่มปราสาทตาเมือน

ขอบคุณข้อมูลจาก www.mapculture.org/mambo/index.php?option=com...

ปราสาทคาเมือน


โบราณสถานกลุ่มปราสาทตาเมือน
13 พ.ย. 2006 16:40น.
ตั้งอยู่ที่บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง เป็นโบราณสถานแบบขอม 3 หลัง ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ติดแนวชายแดนประเทศไทยและกัมพูชา การเดินทางจากจังหวัดสุรินทร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 214 ผ่านอำเภอปราสาท แยกไปตามทางหลวงหมายเลข 2121 ที่จะไปอำเภอบ้านกรวดประมาณ 25 กิโลเมตร มีทางแยกที่บ้านตาเมียง ไปอีก 13 กิโลเมตร

ปราสาทตาเมือน เป็นสิ่งก่อสร้างที่เชื่อว่าคือที่พักคนเดินทางแห่งหนึ่งใน 17 แห่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายแห่งเมืองพระนครโปรดให้สร้างขึ้นจากเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณไปยังเมืองพิมาย ปราสาทตาเมือนสร้างด้วยศิลาแลงเช่นเดียวกับโบราณสถานสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่พบในดินแดนประเทศไทย มีลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวมีห้อยยาวเชื่อมต่อมาทางด้านหน้า ผนังด้านหนึ่งปิดทึบ แต่สลักเป็นหน้าต่างหลอก ส่วนอีกด้านมีหน้าต่างเรียงกันโดยตลอด เคยมีผู้พบทับหลังเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว 2-3 ชิ้น

ขอบคุณข้อมูลจากwww.mapculture.org/mambo/index.php?option=com...

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

มรดกโลก


สวัสดีครับ ผมชื่อ ด.ช.อภิรักษ์ แดงฉัตร์ ได้จัดทำเว็บบล็อกนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้ที่เข้ามาในเว็บซ์ได้ดูมรดกโลกได้ให้ผู้สนใจได้เข้ามาดูงานชิ้นนี้เพื่อนำมาเรียนรู้ต่อไป